วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

กิจกรรมที่ 5 พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2558





พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับบ 2558 ตอนที่ 1

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
     ลิขสิทธิ์ ไม่จำเป็นต้องนำไปจดทะเบียนกับหน่วยงานใดๆทั้งสิ้น โดยการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ได้จะต้องเป็นการสร้างสรรค์งานประเภทวรรณกรรม นาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์
     แต่ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบหรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์
     สรุปง่ายๆคือต้องเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่รวมถึงกระบวนการหรือกรรมวิธี หรือขั้นตอนการสร้างสรรค์ ซึ่งกรณีดังกล่าวจะเป็นเรื่องของสิทธิบัตร ซึ่งจะเขียนให้อ่านอีกครั้งหนึ่ง
     การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นั้น ในกรณีที่ยังไม่มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในราชอาณาจักร หรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น
     ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่น ที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ์   ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หากได้มีการโฆษณางานดังกล่าวในราชอาณาจักร หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก หรือผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน ในขณะที่มีการโฆษณางานครั้งแรก
     สรุปก็คือ ในขณะที่ยังไม่มีการโฆษณาผู้สร้างสรรค์จะต้องมีสัญชาติไทยหรืออยู่ใราชอาณาจักรไทยตอนที่ผลิตงานออกมา หรือเป็นผู้มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีหรืออยู่ในประเทศนั้นๆเป็นส่วนใหญ่ของการสร้างสรรค์งานนั้นๆ
     ส่วนกรณีที่มีการโฆษณาแล้วจะต้องโฆษณาในประเทศไทยหรือประเทศที่เป็นภาคี โดยถ้าหากโฆษณาในประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคี จะต้องทำการโฆษณาอีกครั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่โฆษณาครั้งแรก ในประเทศไทยหรือประเทศที่เป็นภาคี จึงจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์
สิ่งที่ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครอง
ลิขสิทธิ์ได้ครอบคลุมถึงหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นการสร้างสรรค์งานขึ้นมา แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นที่ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองดังนี้
                        (1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
                        (2) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
                        (3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
                        (4) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
                        (5) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม (1) ถึง (4) ที่กระทรวงทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
                        แต่ถึงแม้ลิขสิทธิ์จะไม่คุ้มครองแต่ก็ยังมีกฎหมายอื่นๆที่สามารถบังคับใช้หากมีการละเมิดฝ่าฝืนได้เช่น การสอบวินัยข้าราชการในกรณีที่นำหนังสือของหน่วยงานราชการไปเผยแพร่ หรือความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ในกรณีที่นำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับบ 2558 ตอนที่ 2


   ในลิขสิทธิ์ ตอนที่ 1 ผมได้เขียนถึงการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์และข้อยกเว้นที่ลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองไปแล้ว ในครั้งนี้จะขอพูดถึงคำนิยามต่างๆของงานอันมีลิขสิทธิ์นะครับว่าแต่ละประเภทหมายถึงอะไรบ้าง
    วรรณกรรม  หมายความว่า  งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือจุลสารสิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย  สุนทรพจน์  และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
    ซึ่งสรุปคร่าวๆคือวรรณกรรมคืองานเขียนทุกชนิด รวมถึงข้อความที่กล่าวปราศรัย หรือ สุนทรพจน์ที่พูดในงานใดๆ และยังรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
     โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความว่า คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์   เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด
    ศัพท์ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ Software ซึ่งการจำหน่าย Software ที่ไม่ได้ผลิตจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ได้รับอนุญาต ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และมีความผิดตามกฎหมายครับ
    นาฎกรรม หมายความว่า  งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่าหรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และให้หมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
     ศิลปกรรม  หมายความว่า   งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้
             (1) งานจิตรกรรม ได้แก่งานสร้างสรรค์รูปทรงที่ประกอบด้วยเส้นแสง สี หรือสิ่งอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ลงบนวัสดุอย่างเดียวหรือหลายอย่าง
             (2) งานประติมากรรม ได้แก่งานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้
             (3) งานภาพพิมพ์  ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพด้วยกรรมวิธีทางการพิมพ์และหมายความรวมถึงแม่พิมพ์หรือแบบพิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์ด้วย
             (4) งานสถาปัตยกรรม    ได้แก่งานออกแบบอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างงานออกแบบตกแต่งภายในหรือภายนอก   ตลอดจนบริเวณของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างหรือการสร้างสรรค์หุ่นจำลองของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
             (5) งานภาพถ่าย ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยใช้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก   และล้างด้วยน้ำยาซึ่งมีสูตรเฉพาะหรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันทำให้เกิดภาพขึ้น  หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น
             (6) งานภาพประกอบ  แผนที่  โครงสร้าง  ภาพร่าง     หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ   หรือวิทยาศาสตร์
                    เช่น การเขียนแผนที่ประเทศไทย แผนที่โลก ก็ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ เพราะผ่านขั้นตอนการสำรวจภูมิประเทศต่างๆมาแล้ว โดยนักเขียนแผนที่ประเทศไทยที่มีชื่อเสียงคือคุณทองใบ แตงน้อย ครับ
              (7) งานศิลปะประยุกต์  ได้แก่งานที่นำเอางานตาม  (1)  ถึง (6) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น  นอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าวนั้น  เช่น  นำไปใช้สอย   นำไปตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ไม่ว่างานตาม (1) ถึง (7) จะมีคุณค่าทางศิลปะหรือไม่ และให้หมายความรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
       ดนตรีกรรม หมายความว่า  งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้อง      หรือทำนองอย่างเดียวและให้หมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยก  และเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
       ส่วนนี้หมายถึงการแต่งทำนอง เนื้อร้อง หรือการประพันธ์โน้ตเพลงครับ
       โสตทัศนวัสดุ  หมายความว่า งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใด  อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี
       ในส่วนนี้จะหมายถึงเพลงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเทป หรือวีซีดี หรือดีวีดี รวมถึงคอนเสิร์ตต่างๆ รวมถึงภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญที่ถูกบันทึกได้ ก็ถูกคุ้มครองด้วยครับ
        ภาพยนตร์ หมายความว่า โสตทัศนวัสดุอันประกอบด้วยลำดับของภาพซึ่งสามารถนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์  หรือสามารถบันทึกลงบนวัสดุอื่น เพื่อนำออกฉายต่อเนื่องได้อย่างภาพยนตร์ และให้หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์นั้นด้วย ถ้ามีสิ่งบันทึกเสียง  หมายความว่า  งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรีเสียงการแสดง หรือเสียงอื่นใด โดยบันทึกในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใดๆอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้นแต่ทั้งนี้มิให้  หมายความรวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

ที่มา : http://pbs.twimg.com/media/CLjqEMrUkAEIisf.jpg






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น